โรงละครกลายร่างเป็น “เมือง”
ในอำเภอจงโหม เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน “มีเพียงเหอหนาน: เมืองแห่งห้วงจินตนาการละคร” กำลัง “เติบโต” อยู่ท่ามกลางการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เมืองแห่งนี้มีบริเวณครอบคลุมพื้นที่ 259 ไร่ภายในนั้นได้สร้างพื้นที่ว่างแบบตารางที่ไม่ซ้ำกันจำนวน 56 แห่ง ข้างในมีโรงละครจำนวน 21 โรงซ้อนทับอยู่ทุก ๆ วัน นักแสดงจำนวนกว่า1,000 คนแสดงละครมากกว่า1,000 นาที... ใช้วิถีแห่งละครหล่อเลี้ยงและเผยแพร่วัฒนธรรมใช้แนวคิดการท่องเที่ยวดึงดูดและให้บริการผู้ชม
เวลาเข้าสู่เมืองแห่งห้วงจินตนาการต้องเดินไปทางกำแพงด้านตะวันออกที่นี่ ไม่มีประตูเมืองแต่สิ่งที่มาแทนที่คือกำแพงดินอัดสองแผ่นซ้อนสลับกันไปมาจนกลายเป็น “ประตูเมืองที่เปิดแง้มไว้” บานหนึ่งปัจจุบันนี้ กำแพงที่ว่าเป็นหนึ่งในกำแพงดินอัดหน้าเดียวที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์ที่ยาวที่สุดในโลกมีความยาว 328 เมตรสูง 15 เมตรและหนา 2 เมตร นอกจากนี้ กำแพงดินอัดดังกล่าวยังเป็นฉากขนาดมหึมาที่ฉายแสงและเงาขึ้นไปได้ในยามค่ำคืน นักท่องเที่ยวก็สามารถถ่ายภาพย้อนแสงได้โดยอาศัยแสงไฟที่สาดส่องไปบนกำแพง
เมื่อเข้าไปข้างใน “ประตูเมืองที่เปิดแง้มไว้” พื้นที่การแสดงแห่งแรกคือ“ดินแห่งเหอหนาน” พื้นที่นี้ใช้ดินเหอหนานท้องถิ่นปริมาณ 200 กว่าลูกบาศก์เมตรสร้างเป็นกำแพงดินอัดขึ้นมา บนกำแพงมีการสลักชื่อหมู่บ้านเมืองเล็กๆ อำเภอและนครระดับจังหวัดของมณฑลเหอหนานไว้อย่างครบถ้วนแบ่งเป็นนครระดับจังหวัด 17 นคร อำเภอ157 อำเภอ (เมือง/เขต) หมู่บ้านและตำบลเกือบ 2,500 แห่ง (ชุมชน) ทั้งหมดรวมเรียกเป็นชื่อเดียวกันว่า “เหอหนาน”
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจุดเด่นของเมืองแห่งห้วงจินตนาการก็คือละครนั่นเองใน “มีเพียงเหอหนาน: เมืองแห่งห้วงจินตนาการละคร” เมื่อแต่ละคนเลือกเส้นทางที่แตกต่างกันก็จะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน โรงละครทั้ง 21 โรงสามารถรองรับผู้ชมได้เกือบ 10,000 คนในเวลาเดียวกัน ทั้งหมดนี้แบ่งเป็นละครหลัก 3 เรื่อง ได้แก่ “หมู่บ้านตระกูลหลี่” “สถานีรถไฟ” และ“เมืองแห่งห้วงจินตนาการ” และละครสั้นอีก18 เรื่อง เมื่อปลายเดือนมกราคมปีนี้ ก็มีรายการละครใหม่จำนวนอีก 2 เรื่อง ได้แก่ “เหอหนานของซูซื่อ” และ “นาข้าวสาลีของโจโฉ”
“ทำไมเสื้อผ้าใส่แสดงขาดอีกแล้วล่ะ” คือคำถามที่หลี่เฮ๋าถูกถามบ่อยที่สุด หลี่เฮ๋าเป็นนักแสดงของ “มีเพียงเหอหนาน: เมืองแห่งห้วงจินตนาการละคร” ที่จำนวนเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบเสียหายมากที่สุด และเขายังเป็นหนึ่งในนักแสดงที่ได้รับความชื่นชอบมากที่สุดคนหนึ่งอีกด้วย ในการแสดงที่มีความยาว 22 นาที เขาต้องไถลคุกเข่าทั้งหมด 8 ครั้ง การแสดงแบบนี้ถ้ารอบน้อยก็คือต้องแสดง 9 ครั้งต่อวันหรือถ้ามากก็มากถึง12 ครั้งต่อวัน เพื่อนร่วมงานของหลี่เฮ๋าเล่าว่า “ท่านี้ต้องทำบนพื้นหินที่แคบแข็งและไม่ค่อยสม่ำเสมอ พวกเราเห็นแล้วก็อดที่จะสงสารไม่ได้” รายการแสดงที่หลี่เฮ๋ารับผิดชอบนั้นเวทีไม่ใหญ่ ทั้งเรื่องใช้นักแสดงเพียงสองคนเท่านั้นและอยู่ใกล้กับผู้ชม ดังนั้น นักแสดงจะต้องรักษา “อารมณ์ของตัวละคร” ไว้ตลอดเวลา
ที่นี่ เรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมได้รับการจัดแสดงตลอดเวลา ผู้ชมจะนั่งหรือยืนหรือจะเข้าไปยังพื้นที่อื่นตามโครงเรื่องที่ดำเนินไปก็ได้ภายใน“โรงละครสถานีรถไฟ” และ“โรงละครหมู่บ้านตระกูลหลี่” ซึ่งเป็นสองโรงละครหลักนั้นมีการใช้ศิลปะการแสดงแบบแสดงระหว่างที่ผู้ชมกำลังเที่ยวชมสถานที่ในการบอกเล่าเรื่องราวของการต้องต่อสู้อย่างทรหดอดทนภายใน “โรงละครเมืองแห่งห้วงจินตนาการ” ซึ่งมีที่นั่งมากกว่า 3,000 ที่แท่นยกจำนวนมากได้ร่างโครงลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ออกมาศาลาและหอโบราณค่อย ๆ ปรากฏขึ้นช้าๆผ่านแท่นยกเหล่านี้
ด้านนอกโรงละครซึ่งก็เป็นใจกลางของเมืองแห่งห้วงจินตนาการนั้นมีลานหลุมใต้ดิน (Dikeng Courtyard) อยู่แห่งหนึ่งลานหลุมนี้ได้ฟื้นฟูรูปแบบสถาปัตยกรรมของ “เรือนสี่ประสานใต้ดิน” กลวิธีการก่อสร้างรูปแบบนี้เป็นหนึ่งในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศชุดที่ 3 ภายในลานหลุมใต้ดินมีลานจำนวน 11 ลานที่นี่เป็นแหล่งรวมตัวของธุรกิจทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นร้านให้สัมผัสประสบการณ์เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเหอหนานตลาดศิลปะพื้นบ้านร้านอาหารเจ้าเก่าที่มีชื่อเสียงมายาวนานเป็นต้น
หนึ่งในนั้นที่โดดเด่นสะดุดตาที่สุดคือ “เหอหนานแห่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขุดค้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและงานฝีมือพื้นบ้านอันหลากหลายออกมา ผู้คนต่างติดใจจนวางไม่ลงแม้แต่เก้าอี้ในร้านก็ยังเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม นั่นคือกลองฮวงโหของลั่วหยาง “นี่คือตัวแทนของทักษะวิธีการทำกลองของสำนักทางเหนือของประเทศเรามีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า1,000 ปี” เฉินอี้เชา ผู้สืบทอดทักษะวิธีการทำกลองของสกุลเฉินแห่งตำบลไป๋หม่าซื่อที่ลั่วหยางกล่าวว่า “กลองแถบภาคใต้ของประเทศจีนส่วนใหญ่เป็นกลองขนาดเล็กมีเสียงสูงกลองแถบที่ราบภาคกลางส่วนใหญ่เป็นกลองขนาดใหญ่ซึ่งเมื่อตีแล้วจะให้บรรยากาศอลังการมาก”
เมื่อนักท่องเที่ยวออกจาก “จัตุรัส” แต่ละแห่งซึ่งล้วนอัดแน่นไปด้วยความเป็นละครและกลิ่นอายแห่งวัฒน-ธรรมพวกเขาจะเห็นข้อความด้านหลังของกำแพงดินอัด“มีเพียงเหอหนาน: เมืองแห่งห้วงจินตนาการละคร” ซึ่งเขียนว่า “โปรดอย่าลืมดินของเหอหนาน” นักท่องเที่ยวที่ออกไปจะรู้สึกยากที่จะลืมเลือนละครและความงดงามของสถานที่แห่งนี้เหมือนดังบทวิจารณ์หลังการรับชมฉบับหนึ่งที่เขียนว่า“ในนาข้าวสาลีของมณฑลเหอหนานนานี้ไม่เพียงแต่ทำให้ข้าวสาลีเติบโตเท่านั้นแต่ยังช่วยหล่อเลี้ยงบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอีกด้วย”