รถไฟจีน - ลาว - ไทย ยกระดับการเชื่อมต่อระหว่างกันในภูมิภาค

2024-11-28 17:15:58

เมื่อไม่นานมานี้การรถไฟแห่งประเทศไทยประกาศว่ารถไฟข้ามพรมแดนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์และสถานีคำสะหวาดของประเทศลาวจะเปิดทดลองวิ่งเร็วๆนี้รถไฟไทย- ลาวที่จะเปิดให้บริการนี้ไม่เพียงแต่จะยกระดับการคมนาคมทางรางระหว่างสองประเทศเท่านั้นหากแต่ยังจะเชื่อมต่อเข้ากับรถไฟจีน- ลาวช่วยกระตุ้นการค้าโลจิสติกส์และขนส่งผู้โดยสารระหว่างไทยและลาวอีกด้วย

รถไฟข้ามชายแดนไทย- ลาวนี้จะทำการทดลองเดินรถระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์- อุดรธานี- หนองคาย- เวียงจันทน์(สถานีคำสะหวาด) โดยเมื่อวันที่21 พฤษภาคมที่ผ่านมาไทยและลาวได้ทำการทดลองเดินรถไฟสายอีสานของไทยจากจังหวัดอุดรธานีไปยังนครเวียงจันทน์ของประเทศลาวเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งนี้รถไฟข้ามชายแดนไทย- ลาวนั้นจะเชื่อมต่อเข้ากับรถไฟสายจีน- ลาวโดยจะมีบทบาทช่วยส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างมีนัยสำคัญทั้งยังจะช่วยสนับสนุนกิจการด้านการค้าระหว่างจีนและกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย

หลังจากได้ร่วมมือกันผลักดันมานานหลายปีจีนลาวและไทยก็ได้ทำการวางรากฐานสำหรับการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อกันแล้วเสร็จโดยเมื่อเดือนธันวาคม2564 เส้นทางรถไฟจีน- ลาวได้เชื่อมต่อกันตลอดสายกว่าสองปีที่เปิดให้บริการเดินรถรถไฟจีน- ลาวนั้นมีศักยภาพในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้ามากขึ้นทุกขณะรวมถึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างกันในภูมิภาคทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาร่วมกันอย่างมีนัยสำคัญในอีกด้านหนึ่งโครงการรถไฟจีน- ไทยก็ยังคงเดินหน้าต่อไปโดยเส้นทางรถไฟจีน- ไทยนั้นจะสร้างขึ้นในเขตประเทศไทยถือเป็นโครงการหลักในการสร้างสรรค์นโยบาย“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ทั้งยังจะเป็นรถไฟความเร็วสูงรางมาตร-ฐานสายแรกของประเทศไทยอีกด้วยทั้งนี้โครงการรถไฟจีน- ไทยได้เริ่มดำเนินการในปี2560 แบ่งออกเป็น2 ระยะคือระยะแรกเส้นทาง“กรุงเทพฯ- นครราชสีมา” ซึ่งจะเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครราชสีมาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือระยะที่สองเส้นทาง“นครราชสีมา- หนองคาย” ซึ่งจะต่อขยายจากระยะแรกไปจนถึงจังหวัดหนองคายซึ่งอยู่ติดกับเวียงจันทน์เมืองหลวงของประเทศลาวเพียงแม่น้ำขวางกั้นเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะถือว่าเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมระบบรางของไทยเข้ากับรถไฟจีน- ลาวเพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าการทดลองเดินรถไฟข้ามชายแดนไทย- ลาวในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการเชื่อมต่อระบบรางของประเทศจีนประเทศลาวและประเทศไทยนั้นมีความคืบหน้าไปอีกขั้นหนึ่งเครือข่ายระบบขนส่งทางรางที่ซ้อนทับกันอย่างแน่นหนานี้มีที่มาจากการค้าขายและการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างสามประเทศที่นับวันจะยิ่งคึกคักขึ้นโดยในด้านการเศรษฐกิจและการค้านั้นขณะนี้จีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ1 ของไทยในขณะเดียวกันก็เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอันดับ1 มายังลาวและประเทศคู่ค้าอันดับ2 ของลาวอีกด้วยเมื่อต้นปี2567 ประเทศจีนและประเทศไทยได้ลงนามในเอกสารความร่วมมือต่างๆซึ่งรวมไปถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าการเกษตรของไทยไปยังประเทศจีนซึ่งจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยเข้าสู่ตลาดจีนมากขึ้นด้วยสภาพแวดล้อมเช่นนี้การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับแวดวงที่เกี่ยวข้องและเมื่อเทียบกับรูปแบบการขนส่งแบบดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางทะเลการขนส่งทางบกหรือการขนส่งทางถนนบวกทางรางแล้วการขนส่งผ่านระบบรางทั้งระบบนั้นจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ไปพร้อมๆกันซ้ำยังมีประ-สิทธิภาพสูงกว่าด้วยเหตุนี้การขนส่งทางรถไฟจึงกลายมาเป็นรูปแบบโลจิสติกส์หลักในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าการเกษตรระหว่างสามประเทศ

สำหรับด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากรนั้นนับจนเดือนเมษายน2567 ซึ่งครบกำหนด1 ปีในการเดินรถไฟจีน- ลาวขบวนรถขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศนั้นพบว่าได้ทำการขนส่งผู้โดยสารไปทั้งสิ้นกว่า700,000 คน/ครั้งดึงดูดผู้โดยสารจาก87 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกกว่า180,000 คนให้มาใช้บริการนอกจากนั้นนับตั้งแต่เดือนมีนาคม2567 เป็นต้นมาข้อตกลงว่าด้วยการงดเว้นวีซ่าระหว่างจีน- ไทยก็ได้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการจำนวนนักท่องเที่ยวจากทั้งสองประเทศที่เดินทางท่องเที่ยวระหว่างกันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอุปสงค์ที่มีต่อการขนส่งผู้โดยสารก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

การเปิดให้บริการเดินรถในเส้นทางรถไฟไทย- ลาวจะช่วยนำมาซึ่งผลประโยชน์ใหม่ๆแก่ประเทศในภูมิภาคโดยในแง่ของการขนส่งนั้นรถไฟไทย- ลาวจะช่วยส่งเสริมให้สินค้าจากประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ผ่านเส้นทางรถไฟจีน- ลาวซึ่งนั่นจะช่วยให้สินค้าจากไทยที่ต้องขนส่งเข้าไปที่นครเวียงจันทน์ก่อนจะส่งต่อไปยังนครคุนหมิงมีทางเลือกด้านเส้นทางขนส่งมากขึ้นจึงนับเป็นการยกระดับโลจิสติกส์ระหว่างสามประเทศช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งสินค้าระหว่างกันลดต้นทุนในการขนส่งและเพิ่มกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการค้าสำหรับด้านการขนส่งผู้โดยสารนั้นรถไฟไทย- ลาวจะสามารถเชื่อมต่อกับขบวนรถขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศจีน- ลาวได้และเชื่อมเมืองคุนหมิงสิบสองพันนาหลวงพระบางและเวียงจันทน์เข้าด้วยกันจนทำให้เป้าหมายที่จะ“ออกเดินทางตอนเช้าถึงที่หมายตอนเย็น” เป็นจริงขึ้นมาได้เส้นทางเดินรถไฟใหม่นี้มีแนวโน้มที่จะยกระดับความนิยมของโบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวตามแนวเส้นทางรถไฟให้คึกคักนอกจากนี้ยังจะช่วยส่งเสริมการบุกเบิกทรัพยากรการท่องเที่ยวรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย

ในอนาคตการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟข้ามพรมแดนจีน- ลาว- ไทยจะมุ่งเน้นผลักดันให้เกิดการเดินรถด้วยรถไฟความเร็วสูงตลอดสายในจำนวนนั้นเส้นทางรถไฟจีน- ไทยนับว่าเป็นข้อต่อสำคัญไม่นานมานี้คณะกรรมการร่วมความร่วมมือรถไฟจีน- ไทยได้จัดประชุมครั้งที่31 ขึ้นที่นครปักกิ่งในระหว่างนั้นสองฝ่ายได้อัปเดตข้อมูลความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างระยะที่1 พร้อมไปกับยืนยันโครงการก่อสร้างระยะที่2 นอกจากนี้ยังได้หารือกันเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อจากหนองคายไปยังเวียงจันทน์ด้วยทั้งนี้ฝ่ายไทยระบุว่าโครงการก่อสร้างระยะที่2 คาดว่าจะเริ่มต้นในปี2568 โดยจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี2573

หากความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงจีน- ไทยดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพจะทำให้การเชื่อมต่อระหว่างกันภายในภูมิภาคมีความคืบหน้าการผลักดันให้เกิดการสร้างระบบรถไฟแพนเอเชียก็จะรุดหน้าไปอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเส้นทางรถไฟจีน- ไทยและจีน- ลาวเชื่อมต่อเข้าหากันก็จะเกิดโครงข่ายคมนาคมรถไฟความเร็วสูงข้ามเขตแดนจีน- ลาว-ไทยช่วยอัดฉีดความมีชีวิตชีวาเข้าสู่การดำเนินนโยบาย“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคได้เป็นอย่างมากเมื่อโครงข่ายคมนาคมรถไฟความเร็วสูงข้ามเขตแดนจีน- ลาว- ไทยเชื่อมต่อกันได้ก็จะสามารถให้บริการแก่ประเทศที่ร่วมสร้างสรรค์นโยบาย“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ในอาเซียนได้มากขึ้นไปอีกขั้นรวมถึงยังให้บริการแก่เมืองสำคัญใน31 มณฑล(เขต/เมือง) และนั่นคือการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนเป็นการอัดฉีดความมีชีวิตชีวาเข้าสู่ประชาคมร่วมชะตาจีน- อาเซียนพร้อมกันนั้นการเชื่อมต่อระหว่างจีน- ลาว- ไทยยังจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆแก่การสร้างเส้นทางใหม่ทางบกและทางทะเลแห่งภาคตะวันตกได้ด้วยนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดความเป็นไปได้ด้านความร่วมมือที่จะขยายโครงข่ายการเชื่อมต่อด้านการขนส่งระบบรางตลอดเส้นทางระหว่างจีน- ลาว- ไทยไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์อีกด้วย

รถไฟจีน - ลาว - ไทย ยกระดับการเชื่อมต่อระหว่างกันในภูมิภาค