เรื่องเล่าใหม่ “จีน - ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”
โดยหลี่ซือหยิงรองนักวิจัยสถาบันวรรณคดีชาติพันธุ์สภาวิทยาศาสตร์สังคมจีน
มิตรภาพระหว่างจีน- ไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานและความร่วมมือฉันมิตรยิ่งนานวันก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นและเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนกับอาเซียนปัจจุบันเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ จีนและไทยยิ่งต้องยึดมั่นในปณิธานแรกเริ่มเสริมสร้างรากฐานแห่งมิตรภาพดั้งเดิมต่อไปและเพิ่มความหลากหลายในด้านความร่วมมือเพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายและบอกเล่าเรื่องราว“จีน- ไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” ในยุคสมัยใหม่โดยการส่งเสริมการผสมผสานตรรกะทางทฤษฎีในการสร้างความทันสมัยแบบจีนเข้ากับการดำเนินงานปฏิรูปและพัฒนาของไทยจากมุมมองของการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอารยธรรมจะช่วยขยายขอบเขตความร่วมมือในการพัฒนาของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมความร่วมมืออันดีระหว่างจีน- ไทยในยุคใหม่ให้พัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนนาน
จีนและไทยมีระบอบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจของประชาชนทั้งสองประเทศภายใต้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันและการบอกเล่าเรื่องราวของความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างจีนและไทยในด้านต่างๆได้อย่างดีทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจการพาณิชย์และการท่องเที่ยวจะช่วยพิสูจน์ให้โลกเห็นถึงอนาคตอันสดใสในการเพิ่มความร่วมมือและเพิ่มความเชื่อมั่นระหว่างประเทศที่มีระบอบการเมืองการปกครองต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกรณีศึกษาที่เป็นแบบอย่างในการสนับสนุนนโยบาย“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ให้พัฒนาอย่างมีคุณภาพ
การแลกเปลี่ยนและไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนจีนและไทยที่ผ่านมาทำให้ประชาชนเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกันโดยเฉพาะคนไทยบางส่วนซึ่งอพยพมาจากประเทศจีนและบางส่วนเป็นลูกหลานสายเลือดผสมระหว่างจีนกับไทยการบอกเล่าเรื่องราวของ“จีน- ไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” ในยุคใหม่ให้ดีจะช่วยย้ำเตือนความทรงจำทางประวัติศาสตร์ในการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวจีนกับชาวไทยที่ผ่านมาเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองฝ่ายในระดับพื้นฐานและเสริมสร้างความร่วมมือฉันมิตรอย่างรอบด้านระหว่างจีน– ไทย
ประเทศไทยมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในอาเซียนเนื่องจากสภาพแวดล้อมและนโยบายการลงทุนค่อนข้างสมบูรณ์ทำให้มีนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างมากและแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจค่อนข้างดีนอกจากนี้ประเทศไทยยังตั้งอยู่ในใจกลางอาเซียนและเชื่อมโยงกับประเทศอาเซียนอื่นๆด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ร่วมกันทำให้คนไทยเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่าความทันสมัยในแบบของจีนคืออะไรรวมทั้งเนื้อหาและความสำคัญของการปฏิรูปเชิงลึกอย่างครอบคลุมของจีนและความสัมพันธ์ของนโยบาย“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ของจีนกับประเทศไทยสาระสำคัญและอิทธิพลของประชาคมแห่งอนาคตร่วมกันจีน- อาเซียนฯลฯด้วยการเชื่อมความสัมพันธ์ทางใจของประชาชนทั้งสองประเทศ ทำให้เปิดใจซึ่งกันและกันเพิ่มโอกาสความร่วมมือรอบด้านในอนาคตระหว่างจีนกับไทยในทุกสาขาและในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการเชื่อมต่อที่กว้างขึ้น
วันนี้เราร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวของ“การจับมือกันไปสู่อนาคต” ให้ดีได้โดยการขยายโครงการความร่วมมือทางวัฒนธรรมต่างๆโครงการความร่วมมือทางวัฒนธรรมจีน- ไทยสามารถครอบคลุมในด้านต่างๆเช่นทรัพยากรทางภาษาดนตรีและศิลปะหนังสือโบราณและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯลฯส่งเสริมการยกระดับความร่วมมือเช่นประเทศไทยมีหนังสือโบราณมากมายทั้งภาษาไทยภาษาบาลีภาษาล้านนาและภาษาจีนและวิธีการของจีนที่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ในการชำระจัดพิมพ์หนังสือโบราณอย่างเป็นระบบและเป็นมาตรฐานก็มีความสมบูรณ์ขึ้นอย่างต่อเนื่องผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากประเทศจีนและไทยสามารถดำเนินโครงการชำระหนังสือโบราณจีน- ไทยความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเทคนิควิธีโอบกอดอารยธรรมนับพันปีและร่วมใจกันปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติในอนาคตทั้งสองฝ่ายยังสามารถใช้ทรัพยากรทางภาษาและลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันระหว่างจีนและไทยได้อย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มความรู้สึกใกล้ชิดกันการยอมรับและความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองประเทศและยังเสริมด้วยการสร้างโครงการแบรนด์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในปัจจุบันสืบเนื่องจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีต่างๆเช่นบิ๊กดาต้าการประมวลผลแบบคลาวด์ปัญญาประดิษฐ์บล็อกเชนการสื่อสารแบบ5G VR และAR การทำให้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัลและสารสนเทศกลายเป็นกระแสหลักของการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศเป็นแพลตฟอร์มใหม่สำหรับการจัดแสดงเผยแพร่และปฏิสัมพันธ์โต้ตอบของทรัพยากรทางวัฒนธรรมด้วยการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลทำให้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมสามารถแบ่งปันข้ามภูมิภาคระหว่างภาษาที่ต่างกันและสามารถบอกเล่าเรื่องราวของมิตรภาพจีน- ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้นด้วยการร่วมกันสร้างคลังทรัพยากรฐานข้อมูลและศูนย์เอกสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลสารสนเทศที่สะดวกรวดเร็วและเอื้อเฟื้อ จะส่งเสริมการแบ่งปันทรัพยากรทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศในระดับข้ามภูมิภาคและข้ามภาษารวมทั้งร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีนและไทยอีกด้วย