ดินแดนอัลไตของเรา
อุตสาหกรรมวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเราต้องพยายามอย่างต่อเนื่องในการใช้วัฒนธรรมเพื่อสร้างการท่องเที่ยวและใช้การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมผลักดันการพัฒนาที่บูรณาการวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวให้ผู้คนได้ชื่นชมความงามของวัฒนธรรมและกล่อมเกลาความงามแห่งจิตวิญญาณของตนพร้อมไปกับดื่มด่ำความงดงามของธรรมชาติ
——สีจิ้นผิงประธานาธิบดีจีน
ภูเขาหิมะล้อมรอบทุ่งหญ้าที่กว้างสุดลูกหูลูกตาสายรุ้งทอดยาวข้ามขอบฟ้าฝูงวัวและฝูงแกะเสียงร้องเพลงต้อนฝูงสัตว์คนเลี้ยงปศุสัตว์ที่น่ารักและเรียบง่าย... “ดินแดนอัลไตของเรา” ละครโทรทัศน์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือชุดสารคดีชื่อเดียวกันของนักเขียนชาวจีนหลี่เจวียนได้บอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวของหลี่เหวินซิ่วเด็กสาวชาวฮั่นที่เปิดร้านขายของชำอยู่ในแถบอัลไตของเขตปกครองตนเองอุยกูร์ซินเจียงและอยู่ร่วมกับคนเลี้ยงสัตว์ชนชาติคาซัคในท้องถิ่นทิวทัศน์อันงดงามราวกับภาพวาด โครงเรื่องที่เรียบง่ายแต่น่าสนใจบรรยากาศที่อบอุ่นและผ่อนคลายตลอดจนปรัชญาชีวิตในการมองโลกในแง่ดีทำให้อัลไตดินแดนลึกลับที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเข้ามาอยู่ในใจของผู้คนอย่างสมบูรณ์
การย้ายที่อยู่ของชนเผ่าเลี้ยงปศุสัตว์เร่ร่อนที่บรรยายไว้ในละครสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมเป็นพิเศษเป็นวิถีแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่คนเลี้ยงปศุสัตว์ได้ค้นพบจากการประกอบอาชีพมาเป็นเวลานานนั่นก็คือในช่วงฤดูใบไม้ผลิจะต้อนฝูงวัวและแกะไปทางเหนือและเมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ต้อนลงทางใต้เพื่อให้ผสมพันธุ์ส่วนในฤดูหนาวก็อยู่นิ่งๆเพื่อรอให้ลมและหิมะพัดผ่านไปเป็นวงจรไปเช่นนี้ระยะทางก็ตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายพันกิโลเมตร
หลายปีมานี้มีครอบครัวปศุสัตว์ในเขตอัลไตจำนวนมากได้ซื้อรถบรรทุกขนาดเล็กเพื่อใช้ในการย้ายถิ่นที่อยู่แทนอูฐผู้สูงอายุและเด็กสามารถนั่งที่นั่งด้านหลังรถได้ส่วนช่องบรรทุกสินค้าก็ใช้บรรทุกสัมภาระได้ทั้งรวดเร็วและสะดวกสบายไม่เพียงเท่านั้นวัยรุ่นชาวคาซัคยังขี่มอเตอร์ไซค์ใช้กล้องส่องทางไกลและเครื่องวิทยุสื่อสารในการต้อนฝูงสัตว์และแม้กระทั่งถ่ายทอดสดขณะที่เลี้ยงสัตว์คนหนุ่มสาวเหล่านี้สืบทอดประเพณีของชนเผ่าเลี้ยงปศุสัตว์เร่ร่อนพวกเขาไม่เพียงแต่เปิดรับความสะดวกสบายจากยุคข้อมูลข่าวสารเท่านั้นแต่ยังใช้ชีวิตอิสระเสรีท่ามกลางทุ่งหญ้าที่มีฝูงวัวและฝูงแกะอีกด้วยวัฒนธรรมการย้ายที่อยู่ของชนเผ่าเลี้ยงปศุสัตว์เร่ร่อนที่สืบทอดกันมานานหลายพันปีก็ได้กลายเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเขตอัลไตอีกทั้งยังดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพจากทั่วทุกมุมโลก