ร่วมสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษาไทย - จีน

2024-07-10 16:43:24

ผมนายพีรวัฒน์  ทวีวัฒนพงษ์ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำที่วิทยาลัยนานาชาติจีน(Bangkok University Chinese International) และอาจารย์พิเศษคณะการจัดการการท่องเที่ยว(หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA) ผมกำลังทำวิจัยด้านการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวจีนมายังประเทศไทยการท่องเที่ยวการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการศึกษาตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยและเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาผมได้รับรางวัลด้านการเขียนยอดเยี่ยมจากงานThe 7th International Conference on AppliedLiberal Arts (ICAA 2024) ซึ่งจัดโดยคณะศิลปศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังตอนที่ผมเริ่มค้นคว้าทำงานวิจัยในช่วงแรกนั้นผมค้นพบว่ามีคำถามและประเด็นที่ท้าทายมากมายสำหรับการทำวิจัยและมักจะทำให้ผมใช้เวลาอย่างมากในการพิจารณาข้อมูลและคำถามทั้งหมดซึ่งผมได้รับคำแนะนำจากอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านว่าเมื่อไรที่คุณพัฒนาตัวเองจนสามารถผสมผสานกับประเด็นที่คุณสนใจได้คุณจะพบว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพทางวิชาการอย่างมาก

ถึงแม้ว่าอาชีพที่ผมใฝ่ฝันในช่วงแรกจะไม่ใช่การเป็นครูอาจารย์แต่เนื่องจากผมได้มีโอกาสสอนวิชาภาษาไทยให้กับนักเรียนชาวจีนเมื่อตอนที่ผมยังเป็นนักศึกษาปริญญาโทที่Beijing Normal Universityและทำให้ผมชอบอาชีพอาจารย์และรักงานสอนเป็นอย่างมากสำหรับผมนั้นผมมักฝึกให้นักเรียนบินด้วยปีกของตัวเองยิ่งนักศึกษาบินได้สูงเท่าไรคนที่ทำหน้าที่อาจารย์อย่างพวกเราก็จะยิ่งมีความรู้สึกภาคภูมิใจมากขึ้นเท่านั้นทุกครั้งที่ผมได้เห็นถึงการเติบโตและความสำเร็จของนักศึกษาผมจะรู้สึกภาคภูมิใจกับพวกเขาเป็นอย่างมาก

ในช่วงที่ผ่านมาประเทศจีนและประเทศไทยมีโครงการแลกเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาทางด้านการศึกษาสำหรับนักเรียนนักศึกษาจีนและไทยร่วมกันมากขึ้นผมเชื่อว่าประชาชนของทั้งสองเชื้อชาติมีความใกล้ชิดกันทั้งทางภูมิศาสตร์และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันที่มีการสั่งสมผ่านการเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้งดังคำกล่าวที่ว่า“จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน”ขณะเดียวกันการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในมิติด้านการศึกษาและวัฒนธรรมต่างๆยังคงบรรลุผลอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยจนกลายเป็นจุดสำคัญที่หยั่งรากลึกอยู่ในหัวใจของประชาชนทั้งสองประเทศ

ผมเชื่อว่าการเรียนภาษาจีนของนักเรียนนักศึกษาไทยจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประชาชนจีนและไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การสถาปนาก่อตั้งความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาในมิติของการเรียนภาษาจีนและไทยระหว่างนักเรียนนักศึกษาของทั้งสองประเทศได้นำมาซึ่งโอกาสทางการพัฒนาร่วมกันประเทศจีนและประเทศไทยได้ร่วมกันบูรณาการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรมสู่การขับเคลื่อนในทุกระดับชั้นการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับมิติของการเรียนภาษาจีนภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยมุ่งเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เชื่อมโยง“Creativity + Technology” สร้างนักศึกษาให้มีทักษะศตวรรษที่21 รวมถึงการฝึกอบรมที่เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และการเชื่อมต่อกับองค์กรธุรกิจต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยนักศึกษาทุกคณะทุกหลักสูตรทุกชั้นปีจะได้รับการบ่มเพาะทั้งความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง

วิทยาลัยนานาชาติจีนมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีการสร้างความร่วมมือส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการศึกษากับสถาบันการศึกษาของจีนชั้นนำหลายแห่งขณะเดียวกันยังสร้างโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือเชิงลึกกับมหาวิทยาลัยในประเทศจีนในอนาคตเพื่อร่วมกันปลูกฝังนักศึกษาให้มีความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์การพัฒนาในระดับนานาชาติ

ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันความสามารถในการเชี่ยวชาญหลากหลายภาษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาโอกาสและอาชีพของนักศึกษาดังนั้นคณาจารย์ของวิทยาลัยนานาชาติจีนมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงมีการเตรียมความพร้อมอย่างมากในการส่งเสริมความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างทั้งความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีรวมถึงทักษะทางภาษาของนักศึกษาและมั่นใจว่านักศึกษาจะสามารถเป็นที่ต้องการของตลาดงานหรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความพร้อมมาก

หลังจากมีมาตรการยกเว้นวีซ่าร่วมกันระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยส่งผลให้การแลกเปลี่ยนบุคลากรของทั้งสองประเทศในมิติด้านการศึกษาต่างๆระดับทวิภาคีและความร่วมมือระหว่างของทั้งสองประเทศเช่นการศึกษาและแลกเปลี่ยนบุคลากรของระดับอุดมศึกษาระดับอาชีวศึกษาบูรณาการร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและองค์กรธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเพื่อรวบรวมปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาสื่อการสอนภาษาจีนเฉพาะทางรวมถึงความร่วมมือในการสนับสนุนบุคลากรในภาคการศึกษาทุกภาคส่วนของไทยในการพัฒนาการสอนภาษาจีนและการฝึกอบรมยกระดับความสามารถวิชาชีพคุณภาพสูงนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาความร่วมมือในแนวคิดของความยั่งยืนตามกรอบแนวคิด“จีนและไทยเป็นพี่น้องครอบครัวเดียวกัน” และส่งเสริมการบูรณาการเชิงลึกร่วมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยแลนด์4.0 แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและโครงการ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ของประเทศจีน

ร่วมสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษาไทย - จีน