การผจญภัยในโลกไซอิ๋ว

2024-07-10 15:41:12

เมื่อ20 ปีก่อนเวลาบรรดานักเรียนประถมของจีนเล่นต่อสู้กันในช่วงพักเบรคระหว่างคาบเรียนเกินครึ่งมักจะตะโกนประโยคเด็ดในการ์ตูนเรื่อง“ดราก้อนบอล” ผลงานของอากิระโทริยามะนักเขียนการ์ตูนชื่อดังชาวญี่ปุ่นตั้งแต่ได้รับการนำมาทำเป็นการ์ตูนทางโทรทัศน์ในปี2529 จนถึงปี2565 ซีรีย์การ์ตูนเรื่อง“ดราก้อนบอล” ผลิตออกมาเป็นการ์ตูนทางโทรทัศน์จำนวน5 ชุดและในรูปแบบภาพยนตร์จำนวน21 ตอนเรียกได้ว่าเป็นผลงานคลาสิกทีเดียว

ตัวเอกของการ์ตูนเรื่อง“ดราก้อนบอล” คือซุนหงอคงที่เติบโตอยู่ตลอดเวลาเพียงแต่อากิระโทริยามะชอบสร้างฉากหลังของเรื่องราวใหม่ทั้งหมดดังนั้นซุนหงอคงในการ์ตูนเรื่องนี้จึงไม่ใช่ลิงป่าที่กระโดดออกมาจากก้อนหินอีกต่อไปแต่เป็นมนุษย์ต่างดาวที่มาจากนอกโลกบนโลกใบนี้มีตำนานโบราณที่เล่ากันสืบมาว่าขอแค่เก็บลูกบอลดราก้อนได้ครบเจ็ดดวงก็จะสามารถเรียกเทพดราก้อนออกมาทำให้ความปรารถนาทั้งหมดกลายเป็นจริงได้นี่เป็นการ์ตูนที่ใช้ซุนหงอคงเป็นตัวเอกทั้งหมดแต่ตัดเรื่องราวเส้นเรื่องหลักของนิยายเรื่องไซอิ๋วออกไปหมดเกลี้ยงโดยเล่าเรื่องการผจญภัยหาลูกบอลดราก้อนมาแทนที่พร้อมๆกับที่การ์ตูนเรื่อง“ดราก้อนบอล” ได้ถูกนำเข้ามาในจีนในการ์ตูนได้ผนวกรวมท่าทางจากศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของจีนและชาติต่างๆเข้าไปด้วยอาทิกังฟูมวยไทยคาราเต้ซึ่งครองพื้นที่สำคัญในเกมส์การละเล่นของเด็กจีนได้อย่างรวดเร็ว

เกาหลีค่อนข้างมีคุณูประการกับผลงานสร้างสรรค์ต่อยอดของนิยายเรื่องไซอิ๋วโดยเฉพาะเมื่อถึงในทศวรรษที่2010 ผู้สร้างสรรค์ผลงานของเกาหลียิ่งยกระดับการสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่เช่นรายการวาไรตี้เกาหลีใต้“New Journey to the West” ก็ได้รับแรงบันดาลใจจากการบำเพ็ญเพียรและการเดินทางในเรื่องไซอิ๋วและได้อ้างอิงศึกษารูปแบบการผ่านด่านการออกแบบเกมส์ต่างๆในเรื่อง“ดราก้อนบอล” โดยหลังจากแขกรับเชิญปฏิบัติภารกิจสำเร็จก็จะทำให้ความปรารถนาของแขกรับเชิญเป็นจริงเนื่องจากจุดเริ่มต้นในการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกในเรื่องไซอิ๋วอยู่ที่เมืองซีอานของจีนรายการดังกล่าวยังเลือกอัดรายการที่เมืองซีอานด้วยความเคารพในต้นฉบับบทประพันธ์อีกด้วย

ส่วนซีรีย์อเมริกันเรื่องAmerican Born Chinese ก็ดัดแปลงโดยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องไซอิ๋วแต่ไฮไลท์ไม่ได้อยู่ที่“บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก” ตัวเอกไม่ใช่แม้แต่ตัวละครใดๆในไซอิ๋วทั้งสิ้นแต่เป็นหวังจิ้นซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมอเมริกันเชื้อสายจีนโดยฉากงานเลี้ยงลูกท้อซึ่งเป็นฉากในตำนานในเรื่องไซอิ๋วได้รับการนำมาใช้ในบริบทในยุคปัจจุบันกลายเป็นปาร์ตี้ที่ทันสมัยสไตล์อเมริกันได้อย่างมหัศจรรย์พอดี

สิ่งเหล่านี้คือการตีไซอิ๋วท่ามกลางบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไปซึ่งต่างได้รับการนำมาดัดแปลงร้อยเรียงใหม่ในการ์ตูนและภาพยนตร์ของประเทศต่างๆแม้ว่าจะมีข้อถกเถียงไม่น้อยแต่เบื้องหลังการถูกนำมาถ่ายทำใหม่หลายครั้งก็คือความเปิดกว้างและความหลากหลายของเรื่องไซอิ๋วนั่นเอง

ไซอิ๋วเล่าถึงการเดินทางไปสู่ดินแดนตะวันตกของตัวเอกท่ามกลางกระบวนการการปรับตัวและแสวงหาค้นพบในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งในจุดนี้ก็ได้แฝงนัยประเด็นแห่งการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมของโลกไว้จิตวิญญาณที่กล้าต่อสู้และแสวงหาเสรีภาพของตัวเอกสามารถทำให้คนในประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถพบจุดร่วมกันได้

มีคนประเมินว่า“ไซอิ๋วเหมาะกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่เป็นคนชาติไหนต่างก็สามารถหาความสนุกในการอ่านนิยายเรื่องนี้ได้ทั้งสิ้น”

การผจญภัยในโลกไซอิ๋ว