ไซอิ๋ว เป็นวรรณกรรมประเภทใด

2024-07-10 15:35:21

เสวียนจั้ง(พ.ศ. 1145 - 1207) หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามพระถังซัมจั๋งท่านเป็นพระภิกษุในสมัยราชวงศ์ถังของจีนในปีพ.ศ. 1172 เพื่อแสวงหาพุทธธรรมที่แท้จริงของพุทธศาสนาท่านได้ออกเดินทางจากฉางอาน(ปัจจุบันคือนครซีอานมณฑลส่านซี) ผ่านกว่าร้อยประเทศผ่านความยากลำบากและอุปสรรคมากมายจนในที่สุดก็มาถึงวัดนาลันทาประเทศอินเดียท่านศึกษาที่นั่นเป็นเวลา5 ปีเคยกล่าวปาฐกถาพิเศษในการสัมมนาครั้งใหญ่เกี่ยวกับพระคัมภีร์พุทธศาสนาซึ่งท่านได้รับคำชมเชยอย่างดีพ.ศ. 1188 พระถังซัมจั๋งเดินทางกลับไปยังฉางอานและนำคัมภีร์ทางพุทธศาสนากลับไป657 คัมภีร์  ต่อมาพระถังซัมจั๋งได้บอกเล่าประสบการณ์ของท่านด้วยวาจาเกี่ยวกับเรื่องราวการเดินทางไปยังดินแดนตะวันตกซึ่งลูกศิษย์ของท่านคือพระเปี้ยนจีได้เรียบเรียงเป็น“จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง” (大唐西域记) ปัจจุบันบันทึกเล่มนี้ได้กลายเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณและภูมิศาสตร์ของอินเดียเนปาลปากีสถานบังคลาเทศศรีลังกาฯลฯ

เมื่อพระถังซัมจั๋งออกเดินทางไปยังดินแดนตะวันตกเพื่อแสวงหาธรรมท่านคงไม่เคยคิดเลยว่าการเดินทางครั้งนี้จะจุดชนวนจินตนาการและการตีความอันไม่มีที่สิ้นสุดในรุ่นต่อๆไปจนถึงสมัยราชวงศ์หมิงของจีนเรื่องราวการเดินทางของพระถังซัมจั๋งไปยังดินแดนตะวันตกนั้นได้ถูกประพันธ์เป็นวรรณกรรมไซอิ๋วซึ่งเป็นทั้งวรรณกรรมคลาสสิกและเป็นจุดเริ่มต้น

ไซอิ๋วเล่าเรื่องราวกำเนิดของซุนหงอคงติดตามและฝึกปรือวิทยายุทธ์กับพระอาจารย์โพธิจนไปอาละวาดป่วนวังสวรรค์ต่อมาได้พบกับพระถังซัมจั๋งตือโป๊ยก่ายซัวเจ๋งและม้ามังกรขาวที่ได้ร่วมขบวนเดินทางไปยังดินแดนตะวันตกเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกตลอดทางต้องประสบความยากลำบากและอันตรายต่างๆกว่า81 ครั้งเอาชนะเหล่าปีศาจหมู่มารจนในที่สุดพวกเขาก็ไปถึงดินแดนตะวันตกและได้เข้าเฝ้าพระยูไลสำเร็จมรรคผลทั้งห้าคนในแง่ของศิลปะ“ไซอิ๋ว” เต็มไปด้วยจินตนาการอันมหัศจรรย์และสวยงามผสมผสานโลกในตำนานที่สดใสเข้ากับโลกมนุษย์ตัวละครอย่างซุนหงอคงและตือโป๊ยก่ายมีทั้งลักษณะของมนุษย์จิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์และลักษณะของสัตว์ภายหลังจาก“ไซอิ๋ว” ได้กลายเป็นยุคทองของนิยายแนวแฟนตาซีในสมัยราชวงศ์หมิงซึ่งไม่เพียงมีภาคต่อและการลอกเลียนเท่านั้นแต่ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อนิยายโอเปร่านิทานบทขับสวดหรือบทสรรเสริญ(พระพุทธศาสนา) และประเพณีต่างๆในเวลาต่อมา

ภูมิหลังอันเป็นเอกลักษณ์ของ“ไซอิ๋ว” ว่าด้วย“การอัญเชิญพระไตรปิฎกจากดินแดนตะวันตก” ทำให้วรรณกรรมนี้แพร่หลายไปทั่วเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่18 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นไซอิ๋วได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลและกลุ่มปัญญาชนในประเทศไทยสิงคโปร์และลาวฯลฯต่อมาได้รับการแปลและดัดแปลงโดยแต่ละประเทศเป็นภาษาท้องถิ่นของตนเองร้านหนังสือKinokuniya ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯมีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับไซอิ๋วมากกว่า200 เล่มไม่ใช่แค่ฉบับภาษาจีนเท่านั้นแต่ยังมีฉบับดัดแปลงในภาษาต่างๆด้วย

ในคริสต์ศตวรรษที่19 นักจีนวิทยาที่เดินทางไปประเทศจีนได้จัดทำไซอิ๋วฉบับภาษาอังกฤษไว้หลายฉบับซึ่งช่วยให้ประเทศต่างๆในยุโรปรู้จักวรรณกรรมนี้มากขึ้นในบรรดาผลงานแปลเหล่านั้นฉบับที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ“Monkey : A Folk-tale of China” ซึ่งตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2485 โดยArthur Waley นักจีนวิทยาชื่อดังชาวอังกฤษซึ่งได้รับการพิมพ์ซ้ำถึง22 ครั้งโดยสำนักพิมพ์ต่างๆจนถึงปัจจุบันนี้มีไซอิ๋วฉบับแปลภาษาอังกฤษมากกว่า60 ฉบับ

ไซอิ๋ว เป็นวรรณกรรมประเภทใด