วิถีชีวิตรูปแบบใหม่กับการเดินทางไปมาระหว่างเมือง
บ้านอยู่เซินเจิ้นเรียนที่ฮ่องกงเวลาหกโมงครึ่งซุนหฺวาเจ๋อในวัยสิบสองปีออกเดินทางไปโรงเรียนเริ่มจากการนั่งรถไฟใต้ดินในเซินเจิ้นไปยังท่าเรือฝูเถียนเมื่อผ่านด่านเสร็จก็นั่งรถไฟใต้ดินของฮ่องกงไปยังโรงเรียนระยะทางทั้งหมดใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งเด็กนักเรียนที่เป็นพลเมืองถาวรของฮ่องกงแต่มีบ้านอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่และเรียนหนังสือที่ฮ่องกงเหมือนซุนหฺวาเจ๋อมีประมาณ3 หมื่นคน
นับตั้งแต่นโยบายผ่านแดนกลับมาดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์2566 การเดินทางระหว่างฮ่องกงมาเก๊าและจีนแผ่นดินใหญ่ก็คึกคักมากขึ้นเรื่อยๆ
คนรุ่นใหม่จากฮ่องกงและมาเก๊าแสวงหาความฝันในแผ่นดินใหญ่
“ฉันเห็นตลาดที่กว้างขึ้นเห็นแนวโน้มที่สดใสของอาชีพนี้ที่เซินเจิ้น” เมื่อพูดถึงอนาคตจูอิ่งหลินสาวฮ่องกงที่เดินทางมาทำงานในเซินเจิ้นเมื่อปี2564 พูดด้วยความมั่นใจ“ในแวดวงโฆษณาและสื่อสารมวลชนแผ่นดินใหญ่พัฒนาเร็วองค์กรก็มีขนาดใหญ่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับสาขาวิชาที่ฉันเรียนมามากมาย” สำหรับจูอิ่งหลินเมื่อจบการศึกษาเธอตั้งใจทำงานในจีนแผ่นดินใหญ่ต่อไปเพราะนั่นคือการพาตัวเองเข้าไปอยู่ในผืนแผ่นดินใหม่แห่งโอกาส
เช่นเดียวกับจูอิ่งหลินสาเหตุหนึ่งที่คนหนุ่มสาวชาวฮ่องกงจำนวนไม่น้อยเดินทางมาทำงานในแผ่นดินใหญ่ก็เพราะตลาดการงานและโอกาสที่กว้างขวางในแผ่นดินใหญ่โจวพ่านเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเขาเข้ามาทำงานในบริษัททาวน์แก๊สผ่านโครงการอาชีพคนหนุ่มสาวประจำเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง- ฮ่องกง- มาเก๊าโดยตำแหน่งของเขาในบริษัทคือเจ้าหน้าที่การตลาด“ตลาดขนาดยักษ์ของจีนแผ่นดินใหญ่บังคับกลายๆให้เราต้องยกระดับความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ” เขากล่าว
เวลานี้คนรุ่นใหม่ในฮ่องกงและมาเก๊าต่างตระหนักว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง- ฮ่องกง- มาเก๊ามีศักยภาพในการพัฒนาอย่างมากหากพุ่งเป้าไปที่นั่นน่าจะมีอนาคตที่สดใสกว่าในปีนี้สมาคมเยาวชนฮ่องกงได้ประกาศผลการวิจัยซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้รับการสำรวจร้อยละ65.5 ต่างยอมรับว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้สามารถนำมาซึ่งโอกาสในการยกระดับอาชีพของตนร้อยละ71.3 ยินดีที่จะไปทำงานหรือสร้างความก้าวหน้าทางอาชีพในประเทศจีนทั้งนี้มณฑลกวางตุ้งได้นำเสนอโครงการฝึกงาน“ร้อยบริษัทพันบุคลากร” โครงการครูแนะแนวอาชีพแห่งอ่าวกวางตุ้ง- ฮ่องกง- มาเก๊าโครงการฝึกงานคนหนุ่มสาวแห่งมาเก๊าโครงการเลือกสรรสถานศึกษาและสถานฝึกงานสำหรับนักศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง- ฮ่องกง- มาเก๊าซึ่งล้วนแต่ได้รับการต้อนรับจากคนรุ่นใหม่ในฮ่องกงและมาเก๊าเป็นอย่างดี
ร่วมสร้างชีวิตดีๆที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง- ฮ่องกง- มาเก๊า(GBA)
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2566 เป็นต้นมาไม่ว่าจะเป็นสุดสัปดาห์ทั่วไปหรือจะเป็นวันหยุดยาวเทศกาลไหว้พระจันทร์บวกวันชาติจีนท่าเรือต่างๆระหว่างเซินเจิ้นและฮ่องกงจะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนพลเมืองฮ่องกงที่เดินทางขึ้นเหนือและนักท่องเที่ยวจากแผ่นดินใหญ่ที่เดินทางลงใต้มีปริมาณมากมายพวกเขาจับจ่ายใช้สอยระหว่างเมืองกระตุ้นให้การเดินทางเยี่ยมญาติท่องเที่ยวและช้อปปิ้งคึกคักอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจแห่งนี้
“ปลานึ่งผักดองไท่เอ้อร์ปิ้งย่างกระท่อมไม้ไก่มะพร้าวสี่ฤดูรุ่นหยวน...” เมื่อพูดถึงอาหารอันโอชะแห่งเซินเจิ้นหลีจื่อหรูหญิงสาวชาวฮ่องกงผู้มาจากเขตโหยวเจียนวั่งในฮ่องกงเรียกได้ว่าเป็นกูรูเซินเจิ้นคนหนึ่งเลยทีเดียวเธอไปเที่ยวเซินเจิ้นสัปดาห์ละสองถึงสามครั้งจนคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับสถานที่เช็คอินเจ๋งๆที่นั่น
เวลานี้แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กของฮ่องกงเต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับลายแทงการท่องเที่ยวเซินเจิ้นทั้งด้านอาหารช้อปปิ้งและท่องเที่ยวการทำเล็บนวดตัวและหาหมอฟันที่เซินเจิ้นกลายมาเป็นกิจกรรมยอดฮิตในหมู่ผู้บริโภคชาวฮ่องกงทุกช่วงวัย“นอกจากจะราคาค่อนข้างถูกแล้วยังจ่ายเงินสะดวกขึ้นเรื่อยๆแถมบริการก็มีคุณภาพมากขึ้นทุกที” หลีจื่อหรูกล่าว
นอกจากการช้อปปิ้งและอาหารการกินแล้วการท่องเที่ยวเชิงลึกก็ช่วยเพิ่มพูนความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมในหมู่ประชาชนในเขตGBA เช่นกันฮ่องกงในฐานะที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกอุดมไปด้วยความหลากหลายด้านไลฟ์สไตล์และพื้นที่ทางวัฒนธรรมเมื่อเราไปเยือนฮ่องกงเราสามารถเดินชมนิทรรศการหนังสือชื่นชมสมบัติชาติในพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมกู้กงหรือจะไปฟังดนตรีเลียบอ่าววิกตอเรียก็ย่อมได้... การท่องเที่ยวฮ่องกงในเวลานี้มิได้จำกัดอยู่แค่การช้อปปิ้งช้อปปิ้งและช้อปปิ้งอีกต่อไป
“ตั้งแต่ต้นปีมานี้ศูนย์การประชุมและนิทรรศการแห่งฮ่องกงมีงานอีเวนต์ขนาดใหญ่หมุนเวียนมาจัดแสดงไม่ขาดสายพื้นที่กิจกรรมเลียบหาดในเขตเซ็นทรัลก็เต็มไปด้วยเทศกาลดนตรีคลาคล่ำไปด้วยผู้ชมจากทั่วสารทิศเป็นภาพที่คึกคักติดตาผมมากเลย” เหอหยวนเด็กหนุ่มชาวเซินเจิ้นเล่าให้พวกเราฟัง
ในช่วงงานมหกรรมหนังสือฮ่องกงเมื่อปีที่แล้วมีการให้บริการเดินรถระหว่างนครเซินเจิ้นและฮ่องกงเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้สนใจผู้โดยสารสามารถออกเดินทางจากอาคารซัมยิปอัปเปอร์ฮิลล์ในนครเซินเจิ้นไปยังศูนย์การประชุมและนิทรรศการแห่งฮ่องกงได้ในต่อเดียวนับเป็นการร่นระยะทางสำหรับหนอนหนังสือทั้งหลายที่ต้องเดินทางระหว่างสองเมืองได้เป็นอย่างมาก“เทศกาลหนังสือฮ่องกงมีผู้สนใจเดินทางมาเยี่ยมชมงานเกือบหนึ่งล้านคนในจำนวนนั้นมิตรสหายชาวเซินเจิ้นให้ความสนใจอย่างมาก” คุณเจิงอี๋จิ้งผู้แทนกรมพัฒนาการค้าฮ่องกงประจำนครเซินเจิ้นกล่าว