หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์กำลังมาแล้ว

แหล่งที่มา:นิตยสาร แม่น้ำโขง   |    2024-05-08 17:19:04

ในโรงงานผลิตรถยนต์แห่งหนึ่งที่เมืองเหอเฝยหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์(ฮิวแมนนอยด์) อย่างWalker S ซึ่งเป็นหุ่นยนต์รุ่นที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมจากบริษัทUBTECHRobotics  ในนครเซินเจิ้นกำลังอยู่ระหว่าง“การฝึกภาคปฏิบัติ” หลังจากตรวจสอบล็อคประตูรถยนต์เข็มขัดนิรภัยและฝาครอบไฟแล้ว“พนักงาน” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่มีความสูง1.7 เมตรก็เดินไปที่หน้ารถและค่อยบรรจงติดโลโก้ไว้บนรถคันใหม่

ด้วยความก้าวหน้าล้ำสมัยของปัญญาประดิษฐ์หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ในฐานะที่เป็นการประยุกต์ใช้ไฮเทคดังกล่าวจะไม่ใช่“เครื่องมือ” ที่ทำได้เพียงส่งอาหารและขันสกรูให้แน่นอีกต่อไปโมเดลขนาดใหญ่จะช่วยให้หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ก้าวไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์เชิงรุกทำให้หุ่นยนต์ชนิดนี้กลายเป็นสินค้าที่สร้างความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมต่อจากคอมพิวเตอร์สมาร์ทโฟนและยานยนต์พลังงานใหม่สิ่งนี้ยังทำให้ผู้ประกอบการชาวจีนจำนวนมากสนใจที่จะลองบุกเบิกธุรกิจ

เมื่อพ.ศ. 2551 โจวเจี้ยนผู้ก่อตั้งบริษัทUBTECH Robotics ถูกดึงดูดจากหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ขนาดเล็กที่ว่องไวในงานนิทรรศการงานหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเห็นราคาขายที่สูงถึงหลายหมื่นหยวนเขาก็เกิดแนวคิดที่จะ“วิจัยและพัฒนา” หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ครอบครัวทั่วไปสามารถซื้อได้ในช่วงแรกของการเริ่มต้นธุรกิจทีมวิจัยและพัฒนาได้ซื้อหุ่นยนต์จากประเทศต่างๆเพื่อนำกลับมาฝึกถอดและประกอบชิ้นส่วนแต่ละขั้นตอนต้องมีการลองผิดลองถูกและการปรับปรุงนับครั้งไม่ถ้วน

หลังจากการทำงานอย่างหนักในการวิจัยและพัฒนาเซอร์โวไดรฟ์เป็นเวลาห้าปี(servo drive คืออุปกรณ์ควบคุมการกำหนดตำแหน่งของระบบส่งกำลังที่มีความแม่นยำสูงผ่านการควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ที่แม่นยำ) “ข้อต่อ” ที่พัฒนาขึ้นมาเองก็มีคุณภาพเทียบเท่ากับหุ่นยนต์ชั้นนำของโลกยิ่งไปกว่านั้นยังได้รับสิทธิบัตรหลายรายการและราคาก็ถูกลงเหลือเพียงหนึ่งส่วนยี่สิบหรือสามสิบของชิ้นส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศ  เมื่อปี2557 Alpha หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ขนาดเล็กรุ่นแรกของUBTECH Robotics  ประสบความสำเร็จในการผลิตเป็นจำนวนมากและราคาก็ลดลงจากหมื่นหยวนเหลือเพียงไม่กี่พันหยวน

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยพัฒนาและการผลิตโจวเจี้ยนจึงเลือกจัดตั้งบริษัทที่นครเซินเจิ้นเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดหาวัสดุและชิ้นส่วนประกอบการผลิตที่สมบูรณ์มากกว่าทำให้หาโรงงานที่ตรงตามเงื่อนไขการผลิตได้ง่ายกว่าโจวเจี้ยนเคยคำนวณโดยสังเขปว่าหลังจากที่บริษัทก่อตั้งในเมืองเซินเจิ้นแล้วประสิทธิภาพในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย50% และประหยัดค่าใช้จ่ายได้30% ด้วย

ในมุมมองของโจวเจี้ยนระบบอุตสาหกรรมการผลิตและห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ของจีนเป็นหลักประกันในการผลิตหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์เป็นจำนวนมากหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์สามารถใช้ห่วงโซ่อุปทานหลายสิ่งที่คล้ายกันกับอุตสาหกรรมอื่นๆเช่นหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ทั้งแบตเตอรี่ชิปเซ็นเซอร์และเครื่องควบคุมฯลฯสามารถถ่ายโอนห่วงโซ่อุปทานร่วมกันได้  หลังจากประสบความสำเร็จในการผลิตหุ่นยนต์ขนาดเล็กรุ่นแรกเป็นจำนวนมากโจวเจี้ยนก็หันมาสนใจการพัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่ซึ่งท้าทายมากขึ้น

เมื่อวันที่20 ตุลาคมพ.ศ. 2566 กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ออกประกาศ“แนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์” โดยชี้ให้เห็นว่าหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่บูรณาการเทคโนโลยีอันทันสมัยเช่นปัญญาประดิษฐ์การผลิตขั้นสูงและวัสดุใหม่เข้าไว้ด้วยกันจะเปลี่ยนแปลงการผลิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในเชิงลึกและสร้างรูปแบบใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วโลกด้วยการสนับสนุนเชิงนโยบายจึงทำให้กรุงปักกิ่งได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ระดับมณฑลขึ้นเป็นแห่งแรกเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน2566 โดยมีแผนจะดำเนินการวิจัย5 ภารกิจหลักซึ่งรวมถึงการสร้างต้นแบบหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์แบบปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป(AGI robot) ของจีนและโมเดลภาษาขนาดใหญ่(LLM) สำหรับหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์โจวเจี้ยนกล่าวว่า“ศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งรวมหน่วยงานสำคัญในห่วงโซ่การผลิตหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ของประเทศจีนทั้งต้นน้ำและปลายน้ำในอนาคตจะร่วมมือกันเพื่อพิชิตเทคโนโลยีที่มีความยากในแต่ละขั้นตอนซึ่งรวมถึงชิ้นส่วนหลักการควบคุมการเคลื่อนไหวฯลฯและส่งเสริมการพัฒนาทางอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่ง”

หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์กำลังมาแล้ว