สมองคอมพิวเตอร์สานฝันผู้พิการให้เป็นจริง

แหล่งที่มา:นิตยสาร แม่น้ำโขง   |    2024-05-08 17:17:01

บนหน้าจอคอมพิวเตอร์เคอร์เซอร์วงกลมสีแดงเคลื่อนช้าๆไปยังเคอร์เซอร์วงกลมสีน้ำเงินตรงมุมและในที่สุดทั้งสองก็ทับซ้อนกันอย่างสมบูรณ์นี่เป็นครั้งแรกในประเทศจีนที่มีการใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์หรือBrain-Computer Interface  (BCI)เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่างบรรลุกระบวนการควบคุมการเคลื่อนไหวเคอร์เซอร์ได้สำเร็จ

ผู้ป่วยชื่อไป๋เฮ่าจากมองโกเลียในเมื่อปี2562 เขาป่วยเป็นอัมพาตครึ่งล่างจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ทำให้ตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนคอลงไปไร้ความรู้สึกและแทบไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ก่อนที่จะฝังBCI เขาเคยชินกับการคาบปากกาสไตลัสไว้ในปากเพื่อการอ่านและความบันเทิงบนเครื่องแท็บเล็ต

เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วไป๋เฮ่าเข้ารับการผ่าตัดฝังส่วนเชื่อมต่อระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ที่โรงพยาบาลเทียนถานปักกิ่งในสังกัดมหาวิทยาลัยการแพทย์แห่งกรุงปักกิ่งปัจจุบันเขาสามารถควบคุมถุงมือกลผ่านเครื่องBCI เพื่อหยิบขวดน้ำได้พ่อของไป๋เฮ่าเรียนรู้ที่จะผูกเครื่องBCI เข้ากับแขนของไป๋เฮ่าอย่างเชี่ยวชาญและเชื่อมต่อสายไฟเข้ากับแผลผ่าตัดที่อยู่ด้านหลังศีรษะของเขาเช่นเดียวกับการชาร์จโทรศัพท์มือถือแบบไร้สายตราบใดที่เชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟจากภายนอกเครื่องประมวลผลภายในก็สามารถรับพลังงานไฟฟ้าผ่านการส่งสัญญาณไร้สายและซอฟต์แวร์ตรวจสอบสัญญาณบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็สามารถแสดงเส้นโค้งสัญญาณEEG ได้ซึ่งเชื่อมต่อกับตัวนำไฟฟ้าทั้ง8 ตัวที่ฝังอยู่ในสมองของไป๋เฮ่า

“เส้นโค้งที่แสดงบนหน้าจอแสดงถึงความตั้งใจที่จะเคลื่อนไหวในสมองของผู้ป่วยยิ่งการตีความแม่นยำมากขึ้นการควบคุมของผู้ป่วยก็จะยิ่งมีอิสระและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น” ผู้ที่รับผิดชอบการทดลองทางคลินิกนี้คือศาสตราจารย์หงโปรองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์และสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยชิงหฺวากล่าวแนะนำว่าการรวบรวมข้อมูลภายในสมองและการถอดรหัสข้อมูลภายนอกร่างกายร่วมกันสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสมองของมนุษย์กับอุปกรณ์ภายนอก“การบูรณาการจากภายในสู่ภายนอก” นี้เป็นตรรกะการทำงานขั้นพื้นฐานที่สุดของเทคโนโลยีBCI

ศ. หงโปกล่าวว่าBCI ที่พัฒนาโดยทีมงานนั้นเป็นBCI ไร้สายแบบกึ่งแทรกแซงขนาดเล็กซึ่งหมายความว่าตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ในการรวบรวมสัญญาณไฟฟ้าของสมองจะถูกฝังเข้าไปในกะโหลกศีรษะแต่ไม่ได้สัมผัสเซลล์สมองโดยตรงวิธีที่ทีมงานใช้คือการทำให้ด้านในของกะโหลกศีรษะบางลงและฝังเครื่องประมวลผลBCIขนาดเล็กเข้าไปวิธีกึ่งแทรกแซงนี้สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการติดเชื้อและการอักเสบในสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศ.หงโปกล่าวว่าในอนาคตเมื่อความสามารถของอุปกรณ์ดีขึ้นขอบเขตการใช้งานBCI จะเปลี่ยนจาก“มือที่สาม” ของผู้ป่วยไปเป็นการเดินและการเคลื่อนไหวโดยหลักการแล้วการถอดรหัสภาษาการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้าเพื่อรักษาโรคลมบ้าหมูโรคซึมเศร้าโรคALSเป็นต้นล้วนแล้วแต่นำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตBCI จะกลายเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่แพร่หลายซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบประสาทหลากหลายชนิดได้

สมองคอมพิวเตอร์สานฝันผู้พิการให้เป็นจริง