มังกรมาจากไหน

แหล่งที่มา:นิตยสาร แม่น้ำโขง   |    2024-05-08 17:09:27

ในความคิดของชาวจีนมังกรเป็นสัตว์ที่มีทั้งพลังและความลึกลับหลังจากผ่านประวัติศาสตร์อันยาวนานมังกรได้เปลี่ยนจากการเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าโบราณมาเป็นสัตว์วิเศษที่เรียกลมและฝนได้เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจอันน่าเกรงขามของจักรพรรดิและจากนั้นก็กลายมาเป็น“ลูกหลานของมังกร” กลายเป็น“ ตัวแทนทางจิตวิญญาณ” ของชนชาติจีนถ้าอย่างนั้นแล้วมังกรมีวิวัฒนาการและพัฒนาการอย่างไรเพื่อค้นหาคำตอบเหล่านี้เราต้องมองย้อนกลับไปยังยุคก่อนประวัติศาสตร์อันไกลโพ้นและดูช่วงเวลาที่“มังกร” เริ่มทะยานขึ้น

ยุคแรกเริ่ม” : ต้นกำเนิดแห่งมังกร

กว่า8,000 ปีที่แล้วในแหล่งถิ่นฐานโบราณทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเหลียวหนิงบรรพบุรุษล้อมวงกันที่จัตุรัสกลางและนำหินกรวดสีน้ำตาลแดงขนาดเท่าๆกันมาวางกองเป็นรูปร่างสิ่งหนึ่งซึ่งมีความยาว19.7 เมตร  ส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะขนาดประมาณ2 เมตรเงยหน้าขึ้นอ้าปากลำตัวและส่วนหลังคดโค้งมังกรที่เรียงขึ้นจากก้อนหินซึ่งขุดพบที่แหล่งโบราณสถานฉาไห่  ในเมืองฟู่ซินมณฑลเหลียวหนิงนี้อาจเป็นลักษณะแรกเริ่มเมื่อครั้งที่มังกรถือกำเนิดขึ้นในตอนนั้นมังกรไม่มีชื่อเรียกที่แน่นอนและก็ไม่มีรูปลักษณ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่เป็นสัตว์ในจินตนาการที่คล้ายปลาจระเข้งูหรือหมูต้นแบบของมังกรอาจมาจาก“สัตว์มหัศจรรย์” ที่อาศัยอยู่รอบๆตัวของชาวบ้านในสมัยโบราณ

บรรพบุรุษของมังกรมีมากมายถ้าอย่างนั้นแล้วมังกรกลายมาเป็นอย่างที่เราเห็นในตอนนี้ได้อย่างไรในช่วงเปลี่ยนผ่านของราชวงศ์เซี่ย(ประมาณ2,070 - 1,600 ปีก่อนคริสตกาล) กับราชวงศ์ซาง(ประมาณ1,600 - 1,046 ปีก่อนคริสตกาล) สืบเนื่องจากการก่อตัวขึ้นของอำนาจการปกครองจึงทำให้มังกรเริ่มมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและค่อยๆมีความแน่นอนตายตัวลักษณะที่เป็นตัวแทนก็คือมังกรหินเทอร์ควอยซ์ที่ขุดพบจากซากโบราณสถานเอ้อหลี่โถวในเมืองเอี้ยนซือมณฑลเหอหนานเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นการผสมผสานกันระหว่างมังกรกับอำนาจการปกครองดินแดนในช่วงเวลานี้วัฒนธรรมจีนได้เปลี่ยนแปลงจากความหลากหลายไปสู่ความเป็นเอกภาพเกิดเป็นต้นแบบของ“ประเทศจีน” และมังกรหินเทอร์ควอยซ์ก็ยังทำให้พบรากฐานดั้งเดิมที่สุดของการบูชาสัญลักษณ์มังกรของชนชาติจีน

เมื่อแรกเริ่มเข้าสู่อาณาจักรแห่งความศักดิ์สิทธิ์” : พลังศักดิ์สิทธิ์ของมังกรกับรูปลักษณ์ในพื้นบ้าน

สำหรับประเทศเกษตรกรรมขนาดใหญ่ฤดูฝนมีความสำคัญมากและมังกรซึ่งมีจระเข้เป็นหนึ่งในต้นแบบก็รับหน้าที่สำคัญในการควบคุมฟ้าฝนเช่นกันตั้งแต่ยุคราชวงศ์ซางก็ได้มีบันทึกเกี่ยวกับการเชิดมังกรเพื่อขอฝนบรรพบุรุษยังเชื่ออีกว่ามังกรมีความสามารถในการสื่อสารระหว่างฟ้ากับดินในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก(202 ถึง8 ปีก่อนคริสตกาล) มีการขุดพบหยกวงแหวนสลักฉลุลวดลายมังกรและหงส์จากหลุมศพของกษัตริย์เหวินแห่งหนานเยว่มังกรในนั้นดูเหมือนกำลังเหินทะยานอยู่ท่ามกลางเมฆ

ในสมัยราชวงศ์ถัง(พ.ศ.1161-1450) สืบเนื่องจากการที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในประเทศจีนภาพลักษณ์ของ“พญามังกร” ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาก็ปรากฏเข้ามาในสายตาของผู้คนด้วยเช่นกันการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจากต่างชาติกับความเชื่อในท้องถิ่นทำให้มังกรกลายร่างเป็นพญามังกรที่มีส่วนหัวเป็นมังกรและลำตัวเป็นมนุษย์และด้วย“กลิ่นอายแห่งความเป็นมนุษย์” มังกรจึงเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านซึ่งต่างก็เคารพบูชาและสร้างวิหารให้พญามังกร

นอกจากนี้มังกรยังเป็น“นักวรรณกรรมและศิลปะพื้นบ้าน” ที่กระฉับกระเฉวมังกรเป็นตัวละครที่ปรากฏประจำในละครงิ้วเป็นองค์ประกอบคลาสสิกในสถา-ปัตยกรรมจีนดั้งเดิมอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในงานจิตรกรรมอีกด้วย

เข้าสู่อาณาจักรของจักรพรรดิ: มังกรกับอำนาจของฮ่องเต้

ช่วงเวลาที่มังกรเข้ามาสู่อาณาจักรของจักรพรรดินั้นอยู่ในยุคราชวงศ์ฮั่น(พ.ศ. 341-763) หนังสือประวัติศาสตร์บรรยายถึงหลิวปังซึ่งเป็นจักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นในฐานะ“โอรสแห่งมังกร” นี่เป็นการนำความศักดิ์สิทธิ์ของมังกรมาใช้เพื่อเน้นย้ำความชอบธรรมของอำนาจการปกครองของราชวงศ์ฮั่นเหล่าจักรพรรดิเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของมังกรและต่างก็นำมาผูกโยงเข้ากับตนเอง 

ในสมัยราชวงศ์หยวน(พ.ศ. 1814 - 1911) ผู้มีอำนาจยิ่งพยายามผูกขาดมังกรไว้โดยสมบูรณ์รัฐได้ออกคำสั่งห้ามอย่างเป็นทางการว่านอกจากหน่วยงานของทางการแล้วห้ามบุคคลทั่วไปทอผ้าเป็นลวดลายใดๆที่เกี่ยวข้องกับมังกรอย่างไรก็ตามคำสั่งนี้ไม่สามารถขวางกั้นความรักของผู้คนที่มีต่อมังกรมานับพันปีได้เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบผู้คนจึงปรับเปลี่ยนลวดลายมังกรบางคนตัดเขามังกรและบางคนตัดกรงเล็บมังกรออกไปต่อมาฮ่องเต้จึงได้กำหนดรูปมังกรใหม่โดย“มีห้ากรงเล็บและสองเขา” และมีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่สามารถสวมใส่ชุดลายมังกรเช่นนี้ได้

เหินเข้าสู่บ้านเรือนของชาวบ้านธรรมดามังกรกับสังคมยุคใกล้

มังกรอยู่คู่กับชนชาติจีนมานับพันปีในประวัติศาสตร์อันยาวนานประเพณีพื้นบ้านในสมัยโบราณได้รับการสืบทอดและเกิดพลังใหม่ๆขึ้นมาชาวจีนได้ปลูกฝังวัฒนธรรมเกี่ยวกับมังกรให้หยั่งรากลึกในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิดมังกรได้กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเฉลิมฉลองทั่วไปในปัจจุบันและกลายเป็นกีฬาที่ผสมผสานประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีนเข้าด้วยกันในหนึ่งเดียว

สืบเนื่องจากชาวจีนได้อพยพไปทั่วโลกวัฒนธรรมการเชิดมังกรจึงได้แพร่กระจายไปยังชุมชนชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในยุโรปอเมริกาออสเตรเลียนิวซีแลนด์และกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมจีน

หลังจากผ่านการพัฒนามาหลายพันปีมังกรก็กลายเป็น“ตัวแทนทางจิตวิญญาณ” ของชนชาติจีนนอกจากนี้มังกรยังได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อโครงการสำคัญระดับชาติมากมายเช่น“มังกรหิมะ(เสวี่ยหลง)” เรือตัดน้ำแข็งขั้วโลกรุ่นที่สามและเรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของจีน“มังกรเจียวหลง” เรือดำน้ำบรรทุกผู้โดยสารลำแรก   และ“มังกรจีน(หฺวาหลง) หมายเลขหนึ่ง” เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์รุ่นที่สามซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของจีนอย่างสมบูรณ์ฯลฯ 

ปัจจุบันมังกรยังเป็นตัวแทนของชาวจีนทุกคนที่มุ่งมั่นพัฒนาตนเองและรักชีวิตเพราะมังกรได้รวมจิตวิญญาณแห่งความกล้าหาญภูมิปัญญาความสามัคคีการรักความก้าวหน้าและบุกลุยไปข้างหน้าของชาวจีนดังนั้นคนจีนจึงถูกเรียกว่า“ลูกหลานของมังกร”

มังกรมาจากไหน